ธุรกิจเติบโต เป็นสิ่งที่คนเปิดธุรกิจคาดหวัง การเติบโต สามารถเติบโตได้หลายแบบ ตั้งแต่เติบโตในส่วนของขนาดธุรกิจโดยมีจำนวนคนทำงานเยอะขึ้น เติบโตในมุมของรายได้ หรือ เติบโตในการขยับขยายสินค้าและบริการที่เคยมี
จากบทความก่อนหน้านี้ที่ทางสาระรีฟ ได้เขียนขึ้นเกี่ยวกับ ข้อมูลการขาย มีประโยชน์ เคยเอามาใช้แล้วหรือยัง? (ถ้าอยากอ่านเปิดอ่านต่อ ที่นี่) ซึ่งบทความนี้จะพูดถึงข้อมูลที่เราขายๆ กันอยู่ทุกวัน ไม่ว่าจะขายผ่านหน้าร้าน ขายผ่านออนไลน์ หรือจะขายผ่านทางใหนก็ตาม มันล้วนเอามาใช้ได้ทั้งนั้นแหละ
สำหรับบทความนี้ เลยจะมาต่อยอดกันว่าข้อมูลการขายที่เรามีอยู่แล้วนั้น เราจะเอาข้อมูลที่มีอยู่ในมือมาทำอะไรยังไงได้บ้าง เอามาแล้วมันต้องทำอะไรต่อ ซึ่งรูปแบบของการนำข้อมูลมาใช้จริงๆ แล้วกระบวนการใช้ง่ายมาก ซึ่งบอกเลยว่า กิจการใหนที่มีการนำข้อมูลมาใช้ โอกาสที่จะสร้างให้ ธุรกิจกิจเติบโต สูงขึ้นมาก บางที่ ธุรกิจเติบโต มากถึง 2 เท่าขึ้นไปเลยก็มี
ตั้งคำถาม อยากรู้อะไรจากข้อมูล?
ขั้นตอนแรกก่อนเลย ต้องตอบให้ได้ก่อนว่ากิจการของเราอยากรู้อะไรจากข้อมูลบ้าง ซึ่งไอเดียในการเอาข้อมูลไปใช้จริงๆ ถ้าอ่านบทความที่แนบข้างบนทุกท่านจะเห็นว่าเราเอาข้อมูลมาทำอะไรได้บ้าง ตั้งแต่ทำนายยอดขาย จัดวางสินค้า บริหารสินค้าคงคลัง จัดโปรโมชัน หรือ เก่งๆ ก็สามารถทำการตลาดแบบรู้ใจได้
ดังนั้นก่อนที่เราจะนำข้อมูลไปใช้ทำอะไรสักอย่างเหล่านั้น ก็ต้องตั้งคำถามก่อนว่าเราอยากได้อะไรจากข้อมูล ซึ่งหากเราตั้งคำถามได้แล้ว เราก็จะรู้ว่าต้องทำอะไรต่อ ไม่งั้นหลงทางแน่นอน หากตัวกิจการเองก็ยังไม่รู้ว่าอยากรู้อะไรจากข้อมูล
ข้อมูลที่มีอยู่ตอนนี้ ครบในมิติที่อยากรู้แล้วหรือยัง
คำถามที่เราตั้งมาแล้วว่าอยากรู้ข้อมูลเพื่อไปทำอะไรสักอย่าง สิ่งต่อมาก็ต้องมาดูว่า ข้อมูลในมือตอนนี้มันครบแล้วหรือยัง? ถ้ามีครบแล้วก็เอาไปทำต่อได้ แต่ถ้าไม่ครบล่ะ เราก็ต้องคิดเพิ่มว่าข้อมูลที่มีอยู่แล้ว แต่เราดันอยากรู้อะไรบางอย่างที่ข้อมูลเดิมไม่มี มีวิธีเดียวที่เราจะได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่เราอยากรู้มีแค่วิธีเดียวเลยคือ ไปเก็บข้อมูลเพิ่มซะ หรือไม่ก็เปลี่ยนสิ่งที่อยากได้ตามข้อมูลที่เรามีก่อน แล้วค่อยว่ากันเรื่องการเก็บใหม่
หากข้อมูลในมือเราครบแล้ว เราก็ต้องไปดูต่อว่า ข้อมูลเหล่านั้นอยู่ตรงใหนขององค์กรบ้าง เช่น อาจจะอยู่ในฝ่ายจัดซื้อบางส่วน อยู่ในส่วนของการบริการหลังการขาย หรือ อยู่ในส่วนของการขาย พอเรารู้ว่าข้อมูลอยู่ใหนก็ไปรวบรวมมา ไปขอไฟล์มา ขึ้นอยู่กับว่าข้อมูลที่เรามี มันเก็บยังไง (Excel, Database, Hard Copy)
เตรียมข้อมูลที่จะใช้งาน
ข้อมูลที่รวบรวมมากองใว้แล้วก็ต้องเตรียมให้พร้อมใช้งานก่อน ซึ่งหลายครั้ง เราอาจจะเจอข้อมูลเดียวกัน แต่ดันเขียนคนละฟอร์แทน เช่น ฝ่ายจัดซื้อ เก็บชื่อลูกค้าเป็น นายกอไก่ ไข่แดง แต่ฝ่ายบริการหลังการขายเก็บแยกกัน เป็นชื่อต้น ชื่อ สกุล แปลว่าข้อมูลนี้ต้องเอามารวมให้เป็นฟอร์แมทเดียวกันให้ได้ก่อน จะได้พร้อมใช้งาน
ข้อมูลที่รวบรวมพร้อมใช้งานแล้ว ก็จะเป็นข้อมูลที่ไม่มีความซ้ำซ้อนของข้อมูล จะช่วยทำให้เวลาเราเอาไปประมวลผลมันจะมีโอกาสผิดน้อยลง หรือ ทางสถิติอาจจะเรียกว่า Outlier ซึ่งแสดงถึงข้อมูลที่ผิดวิสัยที่มันควรเป็น แปลว่าถ้าเราเอาข้อมูลมาเตรียมไม่ดี อาจจะเจอข้อมูลมั่วๆ ปนเข้ามาก็จะทำให้การประมวลผลผิดไป
อยากเห็นภาพของข้อมูลอย่างไร
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนทีเราเริ่มรู้แล้วว่า เราจะเอาข้อมูลมาทำอะไร แล้วข้อมูลในมือมีอะไรบ้าง แต่สิ่งที่จะช่วยทำให้เราดูข้อมูลง่ายขึ้นนั้นคือการออกแบบ ว่าข้อมูลหากถูกประมวลผลแล้วเราอยากเห็นข้อมูลเหล่านั้นเป้นยังไง จะยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ เช่น ยอดขาย เราอยากเห็นเป็นกราฟแท่ง หรือ กราฟเส้นดี แบบใหนมันจะดูง่ายกว่านะ ลักษณะของผลลัพธ์ต่างๆ ที่เราอยากรู้นี้แหละ เราจะต้องร่างออกมาในกระดาษง่ายๆ ก่อนก็ได้ ว่าข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เราจะวางในมุมใหนของหน้าแสดงผลดี แล้วถ้าไม่พอจะทำหน้าใหม่ไหม และจะทำยังไงให้รู้ว่าหน้าใหม่มันเป็นการแสดงผลข้อมูลอะไร ซึ่งขั้นตอนนี้ก็จะได้ดราฟของการแสดงผลข้อมูลคร่าวๆ ใว้แล้วเพื่อให้เราเป็นต้นแบบในการนำข้อมูลไปประมวลผล
ประมวลข้อมูล
ส่วนสำคัญของการนำไปใช้อีกขั้นตอนหนึ่งก็คือ การนำข้อมูลมาประมวลนี้แหละ ส่วนนี้ต้องใช้ความเชี่ยวชาญด้านสูตรคณิตศาสตร์หน่อย ตั้งแต่จะหาค่าเฉลี่ยยังไงต้องใช้สูตรอะไร ถ้าจะเอาเฉพาะข้อมูลที่เข้าเงื่อนไข เราจะเขียนเงื่อนไขเหล่านั้นได้อย่างไร ซึ่งการประมวลข้อมูลนี้จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่เราใช้ในการประมวลผล เช่น สมมติเรารวบรวมข้อมูลเพื่อประมวลใน Data Studio การจะคิดสูตรต่างๆ เขาก็จะมีคำสั่งเฉพาะของเขา แต่ถ้าหากเราเลือก Power BI บางทีคำสั่งเดียวกันใน Data Studio อาจจะใช้อีกชื่อหนึ่งก็ได้
ทักษะส่วนนี้อาจจะต้องมีความสามารถทางด้านสถิติพอควร ถึงจะเอามาทำได้ หากเราไม่ได้มีความสามารถในส่วนขั้นตอนนี้มากนัก ก็ลองหาคนที่เป็นแล้วเราก็อธิบายไปว่าเราอยากได้ข้อมูลนี้นะ ประมวลผลแบบนี้นะ ช่วยเขียนเงื่อนไขต่างๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์หน่อยในเครื่องมือที่เราเลือกมาใช้
นำข้อมูลที่ได้ตามผลลัพธ์ไปใช้งาน
พอเราได้หน้าตาผลลัพธ์ของข้อมูลแล้ว คราวนี้ก็ถึงการใช้งานจริงสักที ว่าข้อมูลที่ได้มามันตอบโจทย์กับความต้องการเรามากน้อยแค่ใหน ข้อมูลที่แสดงอยู่บนหน้าจอ หรือ บนรายงานที่ฝ่ายต่างๆ ส่งมาให้เราดู เรามองข้อมูลเหล่านั้น มันต่อยอดอะไรได้บ้าง แก้ไขสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในมุมใหนได้บ้าง สิ่งนี้แหละต้องใช้จินตนาการและประสบการณ์ในการวางแผนล่วงหน้าจากการนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้
ใครเก่งเรื่องการตลาด เก่งด้านกลยุทธ์ เก่งด้านการผลิต หรือจะเก่งด้านอะไรก็แล้วแต่ พอเห็นข้อมูลเหล่านั้น คนที่มีความเชี่ยวชาญด้านนั้นๆ เขาก็จะพอวางแผนต่อได้ว่าครั้งถัดๆ ไปสามารถทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้ไหม หากเทียบจากผลลัพธ์ ณ ปัจจุบันที่ข้อมูลนั้นแสดงออกมา
ปรับปรุงความสดใหม่ของข้อมูล
จริงๆ ข้อตอนการนำไปใช้มันน่าจะจบในตัวของมันแล้วแหละ แต่เอาเข้าจริงถ้าเราจบแค่ตรงนั้น วันนึงเราอาจจะเป็นคนที่ย่ำอยู่กับที่ก็เป็นได้ เพราะว่ามิติของข้อมูลไม่มีการอัพเดทให้ทันต่อความต้องการของผู้บริโภคเลย ดังนั้นหากเราอยากตามลูกค้าให้ทัน เราจำเป็นต้องเพิ่มมิติของข้อมูลให้มากขึ้นตามการเรียนรู้จากการใช้ข้อมูลเหล่านั้น ด้วยการหาวิธีในการได้มาซึ่งข้อมูลเหล่านั้นใหม่ๆ หรือ อัพเดทข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด สิ่งเหล่านี้แหละ มันจะเป็นการย้ำเตือนธุรกิจของเรา ว่ามันสามารถไปข้างหน้าได้อีก ด้วยข้อมูลที่แสดงผลลัพธ์เพื่อไปสู่การพัฒนากระบวนการทำงานให้ดีขึ้น
เห็นไหมว่า แค่เราเอาข้อมูลมาใช้แค่นี้ การที่จะทำให้ธุรกิจเติบโต 2 เท่านั้นไม่ใช่เรื่องยากเลย ดีไม่ดีงานที่เราเคยใช้ทรัพยากรมากเกินไป พอเรามีข้อมูลมาช่วยอาจจะช่วยให้เราใช้น้อยลงก็เป็นได้ อีกทั้งงานที่ทำอยู่อาจจะทำเสร็จเร็วขึ้น ส่งงานเร็วขึ้น ลูกค้าประทับใจมากขึ้น มันก็จะส่งผลที่ดีให้กิจการต่อเนื่อง จนส่งผลทำให้กิจการของเรา เป็น ธุรกิจเติบโต 2 เท่าอย่างต่อเนื่องนั่นเอง
ติดตามหัวข้ออื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่นี้ได้ต่อเลยนะครับ
- ปี 2021 จะปรับตัวธุรกิจอย่างไรดี
- สร้างธุรกิจให้เติบโต ตอน กล้าแตกต่าง
- ธุรกิจเจ๊ง ถ้าไม่ระวัง 5 อย่างนี้
ช่องทางติดตามผลงาน
ติดตามผลงานช่องทางต่างๆ ได้
Facebook: https://www.facebook.com/sararifmkt
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCUt1RPFDIOaFnrogwZHi34Q
Tiktok : https://www.tiktok.com/@sararifmkt
Line : https://lin.ee/3KWTirDxI
Website : https://www.sararif.com